ก่อนจะเขียนบทความนี้นี่ตัดสินใจอยู่นานว่าเราจะเปิดประเด็นเรื่องอะไรดี ระหว่างบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น ณ ห้องอาหารชุนโนะไม ที่แสนจะอร่อยและอยากบอกต่อ หรือเรื่อง App Stamp สะสมแต้มแนวใหม่ เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคราวเดียวกัน

คิดไปคิดมาว่าตื่นเต้นอะไรมากกว่ากัน คำตอบก็คือ ตื่นเต้นที่ได้เห็นการใช้งานจริงของการสะสมแต้มแนวใหม่ผ่าน App Stamp ระหว่างฝั่งร้านค้า (Merchant) และ ลูกค้า(Client) เพื่อเล่าให้ทุกท่านอ่านได้อย่างสนุกสนานและได้บรรยากาศจริง ๆ ก็ต้องขอเริ่มด้วยเมนูอาหารต่าง ๆ ก่อนนะคะ

เราเข้าร้านอาหารนี้เพราะได้ยินกิตติศักดิ์ล่ำรือกันมาว่า อร่อยจริง ๆ สมัยก่อนชุนโนะไมเปิดให้บริการที่ซอยทองหล่อ และปัจจุบันได้ย้ายมาอยู่ที่ห้าง Gateway Ekamai โดยที่ร้านมีให้เลือกระหว่างบุฟเฟ่ต์ ซึ่งมีเมนูให้เลือกมากกว่า 70++ ชนิด หรือจะทานแบบสั่งจานไหนจ่ายตามราคานั้น สรุปสุดท้ายคำนวณความคุ้มค่าแล้วขอเลือกบุฟเฟ่ต์ละกัน สนนราคารวมทุกสิ่งอย่างแล้วตกหัวละ 801 บาทถ้วน

เมนูอาหารที่อร่อยจริง ๆ ได้แก่ ปลาดิบซาซิมิ ที่ปลาแต่ละชิ้นต้องบอกว่าสดจริง ๆ ปลาบางชนิดหาทานยากพอสมควร

เมนูซาซิมิเซ็ท มาพร้อมสไตล์การตกแต่งประดับประดาที่สวยงาม
เมนูซาซิมิเซ็ท มาพร้อมสไตล์การตกแต่งประดับประดาที่สวยงาม

เรามีเวลาทานที่ 1 ชั่วโมงครึ่ง โดยพนักงานจะให้เราเลือกอาหารได้ตามเมนูและมาเสิร์ฟตามสั่ง โดยพนักงานจะมารับออเดอร์สุดท้ายเมื่อผ่านไป 1 ชั่วโมง แปลว่า เราจะมีเวลานั่งทานได้อีกครึ่งชั่วโมงหลังจากออเดอร์สุดท้ายนั่นเอง และมีบางส่วนที่สามารถเดินไปตักมาทานเองได้จากCounter Barด้านหน้า ไม่ว่าจะเป็น มิโสะซุป สลัดมันบด ยำสาหร่าย ข้าวอบกระเทียม ข้าวสวยญี่ปุ่น สลัดผัก ไปจนถึง ผลไม้ ไอศครีมนม/มัทฉะ และอื่น ๆ อีกมากมาย

เราทานกันจนหมด ได้เวลาใกล้ครบชั่วโมงครึ่งแล้ว พลันเหลือบไปเห็นป้ายโฆษณาที่วางบนโต๊ะบอกว่า หากมีบัตรเครดิตCitibank ให้ดาวน์โหลด App Stamp เพื่อสะสมแต้มได้ โดยเงื่อนไขจะต้องกรอกบัตรเครดิต 12 ตัวท้ายลงไปใน App Stamp ให้เรียบร้อยก่อน และสำหรับร้านนี้หากทานอาหารครบทุก ๆ 800 บาท ได้รับStamp1 ดวง เราก็รีบปฏิบัติตามโดยทันที พร้อมคิดในใจว่า อยากให้พนักงานมา Stamp ให้ดูจังเลยว่าหลักการทำงานเป็นอย่างไรบ้าง ก็เลยแจ้งไปว่า เราอยากเก็บสะสมแต้มด้วย

โปรโมชั่นที่เกี่ยวพันกันระหว่าง3Partyได้แก่ บัตรเครดิต ร้านค้า และ App Stamp
โปรโมชั่นที่เกี่ยวพันกันระหว่าง3Partyได้แก่ บัตรเครดิต ร้านค้า และ App Stamp
ร้านค้าที่ร่วมรายการสะสมแต้มกับ App Stamp มีเพียบเลย
ร้านค้าที่ร่วมรายการสะสมแต้มกับ App Stamp มีเพียบเลย

สักพักพนักงานก็นำอุปกรณ์ตัวหนึ่งมาพร้อมกับให้เราเปิด App โดยมองหาโลโก้ร้านค้า หลังจากนั้น พนักงานก็นำอุปกรณ์ที่เราเรียกกันว่าตราประทับอิเล็คทรอนิกส์ที่จับกระชับมือมาจี้ที่หน้าจอโทรศัพท์มือถือของเรา หลังจากนั้นก็จะเห็นว่า เราได้รับแสตมป์สะสมแต้มแล้ว1ดวง…2ดวง รู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมาก สรุปออกไปจากร้านอาหารนี้ คิดในใจว่า นอกจากอาหารจะอร่อยจนอยากจะกลับมาทานใหม่แล้ว การได้รับ Stamp สะส้มแต้มผ่านโทรศัพท์มือถือนั้นทำให้เราสะดวกมาก ไม่ต้องพกบัตรสะสมแต้มมากมายไปหมดจนล้นกระเป๋าสตางค์ และมีแนวคิดว่า อยากกลับมาทานใหม่เพราะจะได้รับการสะสมแต้มแบบนี้ ในใจพลันก็นึกถึงคำว่า Gamification ที่เป็นเทรนด์หน้าจับตามองตั้งแต่ต้นปี2013ขึ้นมาโดยทันที จากกรณีศึกษาของ App Stamp นี่แหละ ที่ผู้พัฒนาสามารถคิดนอกกรอบ นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้จนทำให้ลูกค้าสนุกสนานไปกับประสบการณ์ใหม่ ๆ เงื่อนไขและโปรโมชั่นต่าง ๆ และในขณะเดียวกันทางฝั่งร้านค้าเองก็รู้สึกว่าการบริหารระบบสะสมแต้มเป็นเรื่องง่าย สะดวก รวดเร็ว ไม่เสียเวลาจนเกินไปนัก

พนักงานเตรียมประทับStampลงในApp
พนักงานเตรียมประทับStampลงในApp
พนักงานกำลังประทับStampลงในApp
พนักงานกำลังประทับStampลงในApp
เย่ ได้แล้วดวงที่1
เย่ ได้แล้วดวงที่1
ด้านหน้าของ ตราประทับอิเล็คทรอนิกส์
ด้านหน้าของ ตราประทับอิเล็คทรอนิกส์

 

ด้านบนตราประทับอิเล็คทรอนิกส์ เป็นแบบหัวแม่เหล็ก
ด้านบนตราประทับอิเล็คทรอนิกส์ เป็นแบบหัวแม่เหล็ก

 

ด้านหลังเจ้าตราประทับอิเล็คทรอนิกส์ ที่มีPortในการนำเข้าข้อมูลได้
ด้านหลังเจ้าตราประทับอิเล็คทรอนิกส์ ที่มีPortในการนำเข้าข้อมูลได้

และแล้วการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า(CRM) ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป หากผู้พัฒนาระบบคิดวิเคราะห์ปัญหาให้รอบด้านกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วน(Stake Holders) และไม่จำกัดอยู่แต่ในกรอบความคิดเดิม ๆ

ข้อมูลเพิ่มเติม: ขณะนี้ App Stamp มีให้ดาวน์โหลดแล้วทั้งใน iOS และ Android ค่ะ ตามไปทดลองใช้กันได้เลย